2552-06-30

ปล่อยแสง3

ล่าสุดไปดูงานปล่อยแสง3 ที่ TCDC มากับพวกเพื่อนๆ วันนี้เลยหยิบงานที่ว่าก็ดีนะมา ซัก3งานมาโชว์ซะหน่อย

ผลงานชิ้นที่ 1.THE PIGPIG FISHFISH STORY
ที่หยิบผลงานชิ้นนี้มาก็เพราะรู้สึกว่าเฮ้ยยตลกดีนะแล้วรู้สึกว่าเค้าตัดต่อดีเอฟเฟคในภาพอะไรต่างๆก็ดูแล้วเนียนมาก การเล่าเรื่องก็ดูสนุก ดูแล้วมันไม่เครียดดีเลยคิดว่าเออชอบชิ้นนี้วะ

ผลงานชิ้นที่ 2.STARVARY COLLECTION
ผลงานชิ้นนี้จะเป้นการออกแบบเครื่องประดับ แต่แค่เครื่องประดับก็คงรู้สึกเฉยๆ แต่ที่รู้สึกว่าเออก็ดีนะก็เพราะเครื่องประดับ ของเค้าเป็นเครื่องประดับที่ทำมาจากสีเทียน คนอื่นอาจจะไม่รู้สึกว่าแปลก แต่สำสรับตัวเรารู้สึกว่าเออมันเอามาทำได้ด้วย หรอสีเทียนเนี่ย อืมม!!!มันแปลกดีเหมือนกันนะเนี่ย

ผลงานชิ้นที่ 3.CIR QUARE
ส่วนผลงานชิ้นนี้ใครเดินผ่านอาจรู้สึกว่าธรรมดาแต่เค้าได้นำเสนอเรื่องราวของเด็กออทิสติกโดยเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านรูปวาด ง่าย ของ สี่เหลี่ยม และวงกลม

2552-06-24

โครงการคืนชีพให้กระดาษ Paper Ranger

จากปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยและการไม่คำนึงถึงความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสังคมปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ภัยธรรมชาติ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น
การใช้ผลิตภัณฑ์จำพวกกระดาษก็เช่นกัน ในปีหนึ่งๆ ผลจากการรวบรวมข้อมูลปรากฏว่าในจำนวนใบปลิวนับล้านๆใบ อาทิ โฆษณาทางไปรษณีย์ คูปอง ใบขอบริจาค แคตตาล็อกและหน้าโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ จะมีเพียงประมาณนับพันแผ่นเท่านั้น ที่ได้ผ่านการอ่าน ที่เหลือนอกจากนั้นได้กลายเป็นขยะในถังขยะโดยไม่ผ่านการอ่านเลย จึงเป็นการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองอย่างมากโดยไม่รู้ตัว กระดาษที่ผลิตออกมาอย่างมหาศาลนี้ มีเพียงไม่ถึง 30 % ที่มีการนำกระดาษที่ใช้แล้วไปทำผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง
จากปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยและการไม่คำนึงถึงความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสังคมปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ภัยธรรมชาติ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น
จากข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษเผยว่า “ปัจจุบันโลกผลิตกระดาษประมาณปีละ 300 ล้านตัน คนอเมริกันคนหนึ่งๆใช้กระดาษเฉลี่ยปีละ 330 กิโลกรัม คนไทยใช้กระดาษเฉลี่ย 40 ตันต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในกระบวนการผลิตกระดาษ 1 ตัน ต้องใช้ต้นไม้ประมาณ 1.2-2.2 ตัน หรือเทียบเท่าต้นยูคาลิปตัสอายุ 5 ปี 17 ต้น ใช้น้ำ 20 ลูกบาศก์เมตร น้ำมัน 300 ลิตร กระแสไฟฟ้า 1,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง และมีการปล่อยมลพิษ (เช่น คลอรีน ในการฟอกขาว) ออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะมลพิษทางน้ำก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และเกิดการสะสมของสารพิษในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม” การใช้กระดาษแต่ละครั้งจึงเป็นการบั่นทอนทรัพยากรทีละน้อย
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนในสังคมควรมีส่วนในการช่วยกันใช้กระดาษให้คุ้มค่า ตามครัวเรือนควรมีการแยกกระดาษจากขยะทั่วไปเพื่อใช้ซ้ำหรือส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ตามองค์กรธุรกิจจะต้องปรับกลยุทธ์การบริหารด้วยการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment management system) และกลยุทธ์การตลาดเพื่อโลกสีเขียว (Green marketing) มาใช้ในองค์การธุรกิจ
โครงการคืนชีพให้กระดาษ (Paper ranger) นี้เป็นการตอบโจทย์สำหรับ บุคคลทั่วไปที่มีกระดาษหน้าเดียวเหลือใช้ เพื่อลด และส่งเสริมให้เกิดการใช้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะกระดาษ

ที่มา : http://paperranger.co.cc/node/16

โครงการพาโซนา โอทู (Pasona O2)

กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตอนนี้ก็กำลังมี "สวนผักสไตล์ใหม่" ที่กำลังผุดขึ้นเรื่อยๆบนดาดฟ้าของตึกสูงใหญ่!!! สวนผักที่หากเป็นเมื่อก่อน คงไม่มีใครกล้าคิดหรอกว่า จะได้เห็น แต่ตอนนี้ กลับกำลังเป็นโครงการหนึ่ง ที่บริษัท พาโซนา กรุ๊ป ของญี่ปุ่น กำลังผลักดันให้ แพร่ขยาย ผ่านโครงการที่ชื่อว่า พาโซนา โอทู (Pasona O2) ที่มีเป้าหมาย ต้องการสนับสนุนให้ เจ้าของออฟฟิศ เจ้าของตึก สละพื้นที่บน หลังคาตึก หรือดาดฟ้า มาปลูกผัก ปลูกมัน เพื่อช่วยกันลดภาวะโลกร้อน แล้วยังเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน ด้วย ว่า สวนผักบนหลังคา จะช่วยลดทอนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้ลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ แถมยังเป็นการสร้างอาชีพใหม่ ให้แก่คนกรุงได้ด้วยในภาวะที่กำลังจะมีคนตกงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากสภาพเศรษฐกิจที่กำลังทรุดหนัก ที่จะได้หันมาปลูกผักสดที่สะอาด ปลอดสารพิษ สารเคมีไว้ขาย และรับประทานเองด้วย!!
ซายากะ อิทามิ หัวหน้าแผนกพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ของบริษัทพาโซนา กรุ๊ป เล่าถึงแนวคิดที่ทำให้เกิดโครงการ พาโซนา โอทู ที่เธอ เป็นผู้ดูแลโครงการนี้เองว่า "เราต้องการจะกระตุ้นธุรกิจภาคเกษตรกรรมให้คนสนใจ โดยเริ่มที่กลุ่มคนหนุ่มสาวเป็นอันดับแรก ด้วยการสร้าง สวนผักรูปแบบใหม่ที่ดูสะอาด สดใสขึ้นกลางกรุงโตเกียว ซึ่งเราคิดว่า น่าจะทำให้คนหนุ่มสาวรู้สึกสนใจที่จะมาปลูกผักขายกัน"

โครงการนี้ ก็กลายเป็นอาชีพใหม่ของ นายโทโมฮิโร่ คิตาซาว่า หนุ่มกรุงวัย 31 ที่ตกงานจากสภาพเศรษฐกิจที่ ย่ำแย่ จึงตัดสินใจลองมาปลูกผักขาย
เนื่องจากเป็นโครงการที่น่าสนใจ และน่าจะช่วยทำให้สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมในกรุงโตเกียวดีขึ้น ด้าน องค์การโทรศัพท์ของญี่ปุ่น ก็ร่วมสนับสนุนโครงการนี้ด้วย โดยสละพื้นที่บนอาคารสาขา 2 แห่งให้พนักงานมาปลูกมัน ภายใต้โครงการชื่อ "กรีน โพเทโต" เนื่องจากใบของมันมีขนาดใหญ่สามารถแผ่ปกคลุม ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดี แล้วยังทำให้พนักงานได้รับ ประทานมันต้มรสหวานในช่วงฤดูใบไม้ร่วงกันด้วย
ทั้งนี้ นายมาซาฮีโร นากาตะ เจ้าหน้าที่แผนกพัฒนาสิ่งแวดล้อมขององค์การโทรศัพท์ เล่าว่า หลังจากได้เห็นผลสำเร็จของ โครงการนำร่อง ตอนนี้ทางองค์การโทรศัพท์จึงมีเป้าหมายจะขยาย โครงการกรีน โพเทโต ไปให้ทั่วประเทศ แล้วไม่ใช่มุ่งเจาะไปที่อาคาร สำนักงาน ตึกใหญ่ๆ เท่านั้น แต่ยังจะขยายไปยังโรงเรียนต่างๆ ด้วย โดยหวังว่านี่จะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เด็กนักเรียนในเมืองหลวงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ก็สนุกกับการที่ได้มีส่วนผลิตพืชผัก อาหารที่งอกงามมาจากสองมือของพวกเขาเอง

ที่มา : http://icare.kapook.com/globalwarming.php?ac=detail&s_id=3&id=840

COTTON USA T-SHIRT DESIGN CONTEST 2009

COTT“คอตตอน ยูเอสเอ ทีเชิ้ต ดีไซน์ คอนเทสต์”ในโอกาสฉลองปีสากลแห่งเส้นใยธรรมชาติ หรือ International Year of Natural Fibre (IYNF) องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ ร่วมกับ คอตตอน ยูเอสเอ และรายการ 30 ยังแจ๋ว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จัดประกวดโครงการ “คอตตอน ยูเอสเอ ทีเชิ้ต ดีไซน์ คอนเทสต์” ขอเชิญชวนผู้สนใจทั้งประชาชนทั่วไป นักเรียน นิสิตนักศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดออกแบบลวดลายสกรีนบนเสื้อยืดผ้าฝ้าย 100% ภายใต้คอนเซปต์ “Cotton’s Natural World - รักษ์โลกให้สดใส ด้วยเส้นใยฝ้ายธรรมชาติ”