2552-06-24

โครงการพาโซนา โอทู (Pasona O2)

กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตอนนี้ก็กำลังมี "สวนผักสไตล์ใหม่" ที่กำลังผุดขึ้นเรื่อยๆบนดาดฟ้าของตึกสูงใหญ่!!! สวนผักที่หากเป็นเมื่อก่อน คงไม่มีใครกล้าคิดหรอกว่า จะได้เห็น แต่ตอนนี้ กลับกำลังเป็นโครงการหนึ่ง ที่บริษัท พาโซนา กรุ๊ป ของญี่ปุ่น กำลังผลักดันให้ แพร่ขยาย ผ่านโครงการที่ชื่อว่า พาโซนา โอทู (Pasona O2) ที่มีเป้าหมาย ต้องการสนับสนุนให้ เจ้าของออฟฟิศ เจ้าของตึก สละพื้นที่บน หลังคาตึก หรือดาดฟ้า มาปลูกผัก ปลูกมัน เพื่อช่วยกันลดภาวะโลกร้อน แล้วยังเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน ด้วย ว่า สวนผักบนหลังคา จะช่วยลดทอนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้ลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ แถมยังเป็นการสร้างอาชีพใหม่ ให้แก่คนกรุงได้ด้วยในภาวะที่กำลังจะมีคนตกงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากสภาพเศรษฐกิจที่กำลังทรุดหนัก ที่จะได้หันมาปลูกผักสดที่สะอาด ปลอดสารพิษ สารเคมีไว้ขาย และรับประทานเองด้วย!!
ซายากะ อิทามิ หัวหน้าแผนกพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ของบริษัทพาโซนา กรุ๊ป เล่าถึงแนวคิดที่ทำให้เกิดโครงการ พาโซนา โอทู ที่เธอ เป็นผู้ดูแลโครงการนี้เองว่า "เราต้องการจะกระตุ้นธุรกิจภาคเกษตรกรรมให้คนสนใจ โดยเริ่มที่กลุ่มคนหนุ่มสาวเป็นอันดับแรก ด้วยการสร้าง สวนผักรูปแบบใหม่ที่ดูสะอาด สดใสขึ้นกลางกรุงโตเกียว ซึ่งเราคิดว่า น่าจะทำให้คนหนุ่มสาวรู้สึกสนใจที่จะมาปลูกผักขายกัน"

โครงการนี้ ก็กลายเป็นอาชีพใหม่ของ นายโทโมฮิโร่ คิตาซาว่า หนุ่มกรุงวัย 31 ที่ตกงานจากสภาพเศรษฐกิจที่ ย่ำแย่ จึงตัดสินใจลองมาปลูกผักขาย
เนื่องจากเป็นโครงการที่น่าสนใจ และน่าจะช่วยทำให้สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมในกรุงโตเกียวดีขึ้น ด้าน องค์การโทรศัพท์ของญี่ปุ่น ก็ร่วมสนับสนุนโครงการนี้ด้วย โดยสละพื้นที่บนอาคารสาขา 2 แห่งให้พนักงานมาปลูกมัน ภายใต้โครงการชื่อ "กรีน โพเทโต" เนื่องจากใบของมันมีขนาดใหญ่สามารถแผ่ปกคลุม ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดี แล้วยังทำให้พนักงานได้รับ ประทานมันต้มรสหวานในช่วงฤดูใบไม้ร่วงกันด้วย
ทั้งนี้ นายมาซาฮีโร นากาตะ เจ้าหน้าที่แผนกพัฒนาสิ่งแวดล้อมขององค์การโทรศัพท์ เล่าว่า หลังจากได้เห็นผลสำเร็จของ โครงการนำร่อง ตอนนี้ทางองค์การโทรศัพท์จึงมีเป้าหมายจะขยาย โครงการกรีน โพเทโต ไปให้ทั่วประเทศ แล้วไม่ใช่มุ่งเจาะไปที่อาคาร สำนักงาน ตึกใหญ่ๆ เท่านั้น แต่ยังจะขยายไปยังโรงเรียนต่างๆ ด้วย โดยหวังว่านี่จะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เด็กนักเรียนในเมืองหลวงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ก็สนุกกับการที่ได้มีส่วนผลิตพืชผัก อาหารที่งอกงามมาจากสองมือของพวกเขาเอง

ที่มา : http://icare.kapook.com/globalwarming.php?ac=detail&s_id=3&id=840

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น